สถิติ ICO จำนวน 70+ รายการที่คุณต้องรู้ในปี 2024 ทำไมถึงเราจึงน่าเชื่อถือ? ICO Bench ก่อตั้งขึ้นโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านคริปโต เพื่อช่วยให้นักลงทุนคริปโตในปัจจุบันและอนาคตสามารถค้นหาโครงการ ICO และ presale ของสกุลเงินดิจิทัลล่าสุดได้อย่างสะดวกง่ายดาย ภายใต้แนวทางการทำงานที่เคร่งครัด เนื้อหาทั้งหมดของเราถูกจัดทำขึ้นตามนโยบายด้านบรรณาธิการที่เน้นความถูกต้องของข้อมูล ความเป็นกลาง และประโยชน์ใช้สอย พวกเราให้ความสำคัญกับการนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณค่า เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงความสำคัญของความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยง ข้อมูลทุกชิ้นที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของเรามาจากการวิจัยอย่างละเอียดโดยทีมงานนักเขียนและบรรณาธิการ เราคัดเลือกโครงการที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และมั่นใจว่าเนื้อหาจะได้รับการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ ICO Bench ให้บริการนั้น จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น และไม่ควรถูกนำไปใช้เป็นคำแนะนำในการลงทุน ทำไมถึงเราจึงน่าเชื่อถือ? ICO Bench ก่อตั้งขึ้นโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านคริปโต เพื่อช่วยให้นักลงทุนคริปโตในปัจจุบันและอนาคตสามารถค้นหาโครงการ ICO และ presale ของสกุลเงินดิจิทัลล่าสุดได้อย่างสะดวกง่ายดาย ภายใต้แนวทางการทำงานที่เคร่งครัด เนื้อหาทั้งหมดของเราถูกจัดทำขึ้นตามนโยบายด้านบรรณาธิการที่เน้นความถูกต้องของข้อมูล ความเป็นกลาง และประโยชน์ใช้สอย พวกเราให้ความสำคัญกับการนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณค่า เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงความสำคัญของความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยง ข้อมูลทุกชิ้นที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของเรามาจากการวิจัยอย่างละเอียดโดยทีมงานนักเขียนและบรรณาธิการ เราคัดเลือกโครงการที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และมั่นใจว่าเนื้อหาจะได้รับการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ ICO Bench ให้บริการนั้น จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น และไม่ควรถูกนำไปใช้เป็นคำแนะนำในการลงทุน การเสนอขายเหรียญพรีเซลหรือขายเหรียญครั้งแรก (ICO) ถือเป็นวิธีใหม่ในการระดมทุนสำหรับโครงการต่างๆ ของบริษัทในระยะเริ่มต้น นับตั้งแต่การเสนอขายเหรียญครั้งแรกได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในปี 2017 โดยบริษัทสตาร์ทอัปด้านคริปโตทั่วโลกสามารถระดมทุนได้มากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในโครงการที่เปิด ICO การมองภาพรวมที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบระดับโลกของ ICO อาจเป็นเรื่องท้าทาย เนื่องจากข้อมูลกระจายอยู่ในรายงานและแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย นั่นคือเหตุผลที่เรารวบรวมสถิติ ICO มากกว่า 70 รายการที่คุณจำเป็นต้องรู้ รวมถึงอัตราความสำเร็จ ข้อมูลรายได้ และอื่น ๆ สถิติ ICO ที่น่าสนใจ ICO ระดมทุนได้มากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เริ่มเปิดตัว ICO ในช่วงที่เฟื่องฟูในปี 2018 เป็นการหลอกลวง มากกว่า 80% ICO มีอัตราการอยู่รอด 10% ICO ที่ใหญ่ที่สุด – EOS – ระดมทุนได้ 4.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2018 การหลอกลวง ICO ที่ใหญ่ที่สุดคือ Bitconnect ซึ่งโกงนักลงทุนไปถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์ สถิติสำคัญเกี่ยวกับ ICO แนวคิดของ ICO ถูกนำเสนอครั้งแรกในปี 2013 โดย J.R. Willet โดยการเสนอขายเหรียญครั้งแรก (ICO) บริษัทจะสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลใหม่ที่เรียกว่าโทเค็นและนำไปขายให้กับนักลงทุนโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งในปี 2013 Willet ได้ใช้แนวทางนี้กับ MasterCoin และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น OMNI สามารถระดมทุนด้วย Bitcoin เป็นมูลค่า 500,000 ดอลลาร์ โดยเงินทุนที่ได้จะนำไปพัฒนา การจ่ายเงินรางวัล และงานสำคัญอื่นๆ หลังจากที่ OMNI ประสบความสำเร็จ ICO ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจาก Ethereum ซึ่งสามารถระดมทุนได้มากกว่า 15 ล้านดอลลาร์ในเดือนสิงหาคม 2014 ในปี 2015 การเปิดตัวมาตรฐานโทเคนของ Ethereum (ERC20) ช่วยให้กระบวนการ ICO มีความสะดวกยิ่งขึ้น จากที่มี ICO เพียง 9 รายการ ในปี 2015 และ 74 รายการ ในปี 2016 ตลาดได้ขยายตัวขึ้นอย่างมากจนมีมากกว่า 1,000 รายการ ในปี 2018 ระหว่างปี 2017 ถึง 2020 ICO สามารถระดมทุนให้กับสตาร์ทอัปบล็อกเชนได้มากกว่า 3.5 เท่า เมื่อเทียบกับการระดมทุนผ่าน Venture Capital (VC) แบบดั้งเดิม ICO เป็นโทเคนดิจิทัลที่ออกโดยบริษัทในระยะเริ่มต้น เพื่อแลกเปลี่ยนกับคริปโตเคอเรนซีหรือสกุลเงินทั่วไป ถือเป็นวิธีใหม่สำหรับธุรกิจในระยะเริ่มต้นในการระดมทุน เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการระดมทุนแบบดั้งเดิม เช่น การลงทุนจาก VC หรือ Angel Investor แล้ว ICO มีข้อได้เปรียบหลายประการ ได้แก่: ICO เป็นแบบกระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์เนื่องจากขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องสละหุ้นจำนวนมากเพื่อระดมทุน สามารถระดมทุนได้ค่อนข้างเร็วจากกลุ่มนักลงทุนทั่วโลก ใครๆ ก็สามารถลงทุนใน ICO ได้เพราะไม่มีข้อจำกัดด้านกฎหมายหลักทรัพย์ที่อนุญาตเฉพาะนักลงทุนที่มีฐานะมั่งคั่ง และได้รับการรับรอง ICO เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการทุกคน ไม่ใช่แค่เฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์กับนักลงทุนในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ต่างจาก IPO ที่ต้องการโมเดลธุรกิจที่มั่นคง ICO ไม่จำเป็นต้องมีธุรกิจที่สร้างรายได้ชัดเจนก่อนก็สามารถรับการลงทุนได้ ICO แตกต่างจากวิธีการระดมทุนแบบเดิม ๆ เนื่องจาก: โทเค็น: หน่วยมูลค่าที่ออกในรูปแบบของสกุลเงิน ยูทิลิตี้ หรือโทเค็นหลักทรัพย์ เอกสารเผยแพร่: ข้อมูลที่เผยแพร่เกี่ยวกับผู้ออก โปรเจ็กต์ โปรโตคอล อุปทานโทเค็น ราคา และการจัดจำหน่าย การตลาดออนไลน์: ช่องทางการสื่อสารและการจัดจำหน่ายหลักของ ICO ICO ที่ใหญ่ที่สุดมักใช้โทเคนการใช้งาน (Utility Tokens) ซึ่งไม่ได้มอบสิทธิ์ที่ชัดเจนในการเป็นเจ้าของหรือเข้าถึงกระแสเงินสดในอนาคตของบริษัท โทเค็นสกุลเงินรวมถึงสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนและจัดเก็บได้ โทเค็นหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์แบบดั้งเดิมที่ได้รับการสนับสนุนโดยโครงสร้างพื้นฐานของบล็อกเชน โทเค็นหลักทรัพย์ (โทเค็นประเภทที่พบมากที่สุด) ให้สิทธิ์แก่ผู้ลงทุนเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามรายงานของ Crypto Vantage ทำให้ ICO ของบริษัทสตาร์ทอัป ระดมทุนได้มากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนธันวาคม 2022 จากการศึกษาในปี 2020 พบว่า ICO ทั่วโลกมากกว่า 5,036 รายการระหว่างปี 2016 ถึง 2019 สามารถระดมทุนได้มากกว่า 13 พันล้านดอลลาร์ ข้อมูลจาก Statista ได้คาดการณ์ตัวเลขดังกล่าวไว้สูงกว่านั้นเล็กน้อย โดยรายงานว่าในช่วงเวลาเดียวกันสามารถระดมทุนได้ถึง 14.8 พันล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ Cruchbase และ Wall Street Journal กล่าวว่า ภายในในปี 2017 เพียงปีเดียว ได้มีการระดมทุนผ่าน ICO ประมาณ 4.9 พันล้านดอลลาร์ และในปี 2018 ได้เพิ่มขึ้นถึง 33.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าการระดมทุนที่ได้จากการลงทุนร่วมทุนบนอินเทอร์เน็ตทั้งหมด เมื่อแยกตัวเลขย่อยแล้ว พบว่ามีการระดมทุนได้ 90 ล้านเหรียญจาก ICO เป็นจำนวน 29 ครั้งในปี 2016 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 พันล้านเหรียญ จากโครงการ ICO ที่มีมากกว่า 1,253 ครั้งในปี 2018 อย่างไรก็ตาม ในปี 2019 ระดมทุนได้ลดลงเหลือเพียง 370 ล้านเหรียญจาก ICO จำนวน 109 ครั้ง และในปี 2022 ระดมทุนได้ลดลงเหลือ 117 ล้านเหรียญจาก ICO 217 ครั้ง ซึ่งตามรายงานของนักวิจัย ICO ลดลงอย่างรวดเร็วนี้มีสาเหตุมาจากความท้าทายต่างๆ เช่น ความล้มเหลวของโครงการ การหลอกลวง และการขาดการควบคุม คำอธิบายที่เป็นไปได้ของการลดลงของจำนวนและปริมาณของ ICO หลังจากปี 2019 อีกประการหนึ่งก็คือ การพัฒนารูปแบบการระดมทุนผ่านระบบคราวด์ฟันดิ้งรูปแบบใหม่ โดยรูปแบบใหม่ดังกล่าวได้มุ่งเป้าไปที่การแก้ไขปัญหาบางประการที่สำคัญของ ICO ยกตัวอย่าง ได้แก่: การเสนอขายโทเค็นหลักทรัพย์ (STO): เครื่องมือทางการเงินที่เสนอผ่าน DLT การเสนอขายแลกเปลี่ยนครั้งแรก (IEO): โทเค็นหรือยูทิลิตี้ของคริปโตที่เสนอและจัดการผ่านแพลตฟอร์มเปิดตัวการแลกเปลี่ยน Initial DEX Offerings (IDO): โทเค็นหรือยูทิลิตี้เข้ารหัสที่เสนอและจัดการผ่านการแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ Token Generation Event (TGE): โปรเจ็กต์หรือแพลตฟอร์มบนบล็อกเชนที่ระดมทุนผ่านการขายโทเค็นดั้งเดิมให้กับนักลงทุนและผู้สนับสนุน ปี จำนวน ICO ที่เปิด ยอดระดมทุนรวมทั้งหมด 2016 29 90 ล้านดอลลาร์ 2017 875 6 ล้านดอลลาร์ 2018 1,253 7.5 ล้านดอลลาร์ 2019 109 370 ล้านดอลลาร์ 2020 14 55.6 ล้านดอลลาร์ 2021 320 378 ล้านดอลลาร์ 2022 217 117 ล้านดอลลาร์ รายงานประจำปี 2020 วิเคราะห์ว่า ICO จำนวน 981 รายการที่เกิดขึ้นในปี 2019 และพบข้อมูลดังต่อไปนี้: ในปี 2019 สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และไต้หวันเป็นศูนย์กลางของ ICO เมื่อเทียบกับปี 2018 จำนวน ICO โดยรวมแล้วทั้งหมดลดลง 60% ICO ประมาณ 88% ขึ้นอยู่กับบล็อกเชน Ethereum โทเค็นส่วนใหญ่ที่ออกในปี 2019 ในเดือนกรกฎาคม 2020 พบว่า ICO ไม่ได้ถูกซื้อขายในตลาดรองอีกต่อไป จาก ICO ที่มีข้อมูล (24%) มีการระดมทุนได้ 3 พันล้านดอลลาร์ โดย ICO ที่ใหญ่ที่สุดคือ BITFINEX (ไต้หวัน) ซึ่งระดมทุนได้ทั้งหมด 1 พันล้านดอลลาร์ ผู้ให้บริการ ICO จำนวน 43% มีผลิตภัณฑ์จริงในตลาด ในขณะที่เกือบหนึ่งในสามนั้นไม่มี โดยข้อมูลบน Foundico ของปี 2023 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับ ICO และก่อน ICO มากกว่า 3,000 รายการ เปิดเผยว่า: ICO ส่วนใหญ่ (36%) บนแพลตฟอร์มเป็นโครงการทางการเงิน รองลงมาคือการซื้อขาย (13%) และการชำระเงิน (10%) แพลตฟอร์มโครงการที่พบมากที่สุดคือ Ethereum ซึ่งคิดเป็น ICO มากกว่า 72% สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในแง่ของจำนวนโครงการสูงสุด โดยมีทั้งหมด 451 โครงการ ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร และสิงคโปร์ โดยมี 383 และ 304 โครงการตามลำดับ สหรัฐอเมริการะดมทุนได้มากที่สุด รองลงมาคือสิงคโปร์และสหราชอาณาจักร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2023 มีการเผยแพร่ ICO มากกว่า 120 รายการ ข้อมูลจาก ICO Drops แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันมี ICO ที่ใช้งานอยู่ 13 รายการบนแพลตฟอร์ม และมี ICO มากกว่า 100 รายการนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 มีโครงการ ICO ที่ทำผลงานได้ดีในช่วง ได้แก่: Arbitrum ระดมทุนได้ 123.7 ล้านดอลลาร์ World Coin ระดมทุนได้ 240 ล้านดอลลาร์ SUI ระดมทุนได้ 52 ล้านดอลลาร์ Neon ระดมทุนได้ 45 ล้านดอลลาร์ Republic Note ระดมทุนได้ 49 ล้านดอลลาร์ ข้อมูลที่รวบรวมโดย Cryptorank จากการขายโทเค็นสาธารณะระหว่างปี 2014 ถึง 2024 ทั้งหมด 4,554 ครั้งแสดงให้เห็นว่ามีโครงการ ICO คิดเป็น 18.4% ของยอดขายโทเค็นสาธารณะทั้งหมด IDO ถือเป็นวิธีการระดมทุนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่งสำหรับสตาร์ทอัปด้านคริปโต โดย IEO ครองส่วนแบ่งการขายโทเค็นอยู่ที่ 66.1% อันดับที่สามคือ IEO ซึ่งคิดเป็น 15.5% ของยอดขายโทเค็นทั้งหมด ประเทศที่มีจำนวน ICO ที่บันทึกไว้สูงสุดคือสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือสิงคโปร์และสหราชอาณาจักร จีน เนปาล บังกลาเทศ มาซิโดเนีย โบลิเวีย และเอกวาดอร์ เป็นตัวอย่างของประเทศที่ห้ามเปิดโครงการ ICO ICO ทั่วโลกกำลังเผชิญกับการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้น ผู้กำหนดนโยบายยังต้องกำหนดกลยุทธ์ที่สอดประสานกันเพื่อแก้ไขความท้าทายสำคัญในตลาด ซึ่งปัญหาเร่งด่วนบางประการที่พบ ได้แก่ ความเสี่ยงสูงของการฟอกเงิน และความจริงที่ว่า ICO อาจถูกนำไปใช้เป็นเงินทุนสนับสนุนการก่อการร้าย แคมเปญ ICO เฉลี่ยมีระยะเวลา 40 วัน และโครงการที่ประสบความสำเร็จจะสิ้นสุดด้วยการขึ้นรายการโทเคนบนตลาด แคมเปญ ICO ที่ดีมักจะใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน ในขณะที่แคมเปญไม่ดีมักจะใช้เวลายืดเยื้อ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น การลงรายการบนกระดานแลกเปลี่ยนคริปโตแบบรวมศูนย์ (CEX) หรือกระดานแลกเปลี่ยนคริปโตแบบกระจายอำนาจ (DEX) ถือเป็นเครื่องหมายของแคมเปญที่ประสบความสำเร็จ ไม่มีข้อมูลสรุปเกี่ยวกับการลงรายการโทเค็นครั้งแรกใน DEX เมื่อเทียบกับ CEX อย่างไรก็ตาม DEX คิดเป็นเกือบ 10% ของปริมาณการซื้อขาย CEX ณ ปี 2021 ข้อมูลรายได้ ICO แม้ว่า ICO มักจะมีผลตอบแทนเริ่มต้นเฉลี่ยสูงประมาณ 110% แต่ก็มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนติดลบด้วยเช่นกัน การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการลงทุนใน ICO มีความเสี่ยงมากกว่า แต่ศักยภาพในการทำกำไรนั้นสูงกว่า นอกจากนี้ ความไม่สมดุลของข้อมูลยังรุนแรงกว่าในตลาดสกุลเงินดิจิทัล ส่งผลให้การประเมินมูลค่าและรายได้ของ ICO มีความไม่แน่นอนมากขึ้น การศึกษาประสิทธิภาพของ ICO ในช่วงเวลาหกเดือนเผยให้เห็นว่ามีโอกาสขาดทุนมากถึง 90% หรือทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบแล้ว IPO มีตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่เพียง 23% เท่านั้น โดย ICO มีความเสี่ยงสูงสำหรับนักลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเหตุผลดังนี้: ICO ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการควบคุม ผู้ออกสามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎระเบียบได้ ตลาดเต็มไปด้วยการหลอกลวงและการฉ้อโกง แม้แต่โครงการที่มีแนวโน้มดีก็อาจไม่ได้รับผลตอบแทน นักลงทุน ICO ไม่ได้รับการคุ้มครองจากการขาดทุนและไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจว่าจะจัดการอย่างไร ซึ่งแตกต่างจาก VC หรือ Angel Investors มีเพียง 4% ของ ICO เท่านั้นที่กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนซึ่งต้องบรรลุให้ได้ก่อนจะปล่อยเงิน และมีเพียง 4% เท่านั้นที่รับรองว่ามีบุคคลที่สามที่เป็นกลางคอยดูแลเงินที่บริษัทรวบรวมได้ ดังนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับประโยชน์จากกำไรที่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงสูงมากที่จะไม่ได้รับเงินคืนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ICO สามารถให้ผลตอบแทนปานกลางถึงสูงแก่ผู้ลงทุนได้ โดยใช้ค่าผลตอบแทนเฉลี่ยที่ถ่วงน้ำหนักของ 10 สกุลเงินดิจิทัลชั้นนำในปี 2021 เป็นเกณฑ์ โดยผลตอบแทนเฉลี่ยของโทเคนคือ: 112% ในวันแรก 44.1% ใน 90 วัน 81.3% ใน 180 วัน 71.4% ในหนึ่งปี การศึกษาปี 2020 พบว่าแคมเปญ ICO เฉลี่ยมีผู้ร่วมสนับสนุนประมาณ 4,700 ราย โดยนักลงทุนในกลุ่มตัวอย่างมีการลงทุนเฉลี่ยประมาณ 1,200 ดอลลาร์ นอกจากนี้ ผลตอบแทนในช่วง 9 เดือนพบว่าเป็นบวกโดยเฉลี่ย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มมูลค่าของ Ethereum การศึกษาของ Boston College ในปี 2018 วิเคราะห์ข้อมูลจาก ICO ที่เสร็จสมบูรณ์มากกว่า 2,390 รายการ และพบว่า นักลงทุนเฉลี่ยได้รับผลตอบแทน 179% ระหว่างราคาของ ICO กับราคาตลาดในวันเปิดแรก ในช่วง ICO ผู้ออกโทเคนมักจะขายโทเคนของตนในราคาที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งทำให้ผลตอบแทนสูงกว่าร้อยละ 100 โดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาถือโทเคน 16 วันจากวันที่สิ้นสุด ICO จนถึงวันที่โทเคนขึ้นรายการ แม้หลังจากการซื้อขายเริ่มต้นแล้ว โทเคนยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยที่สูงผิดปกติถึง 82% ในวันแรกของการซื้อขาย และผลตอบแทนเฉลี่ย 48% ใน 30 วันแรก การศึกษาในปี 2020 เผยให้เห็นว่ามีโอกาส 12% ที่โทเค็นของนักลงทุน ICO จะซื้อขายเหนือราคาที่ออกหลังจาก 6 เดือน ซึ่งลดลงจาก 17% ในปี 2019 รายงานเดียวกันพบว่าเกือบ 90% ของโทเคนถูกซื้อขายในราคาต่ำกว่าราคาของ ICO นอกจากนี้ 65% ของโทเคนสูญเสียมูลค่าเกือบทั้งหมดภายในเดือนกรกฎาคม 2020 ปี 10 อันดับ ICO ที่ระดมทุนได้มากที่สุด จำนวนเงินที่ระดมทุน ประเภทโครงการ 2018 EOS 4.1 พันล้าน สัญญาอัจฉริยะ 2018 Telegram Open Network 1.7 พันล้าน Encrypted Messaging และระบบนิเวศบล็อกเชน 2019 Bitfinex 1.0 พันล้าน แพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล 2018 Dragon Coin 407 พันล้าน สกุลเงินกระจายอำนาจสำหรับคาสิโน 2018 Huobi Token 300 พันล้าน ตลาดแลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซี 2017 Hyundai DAC 258 พันล้าน แพลตฟอร์มสัญญา IoT และการชำระเงิน 2017 Filecoin 257 พันล้าน การจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์แบบกระจายอำนาจ 2017 Tezos 232 พันล้าน บัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจที่แก้ไขเอง 2017 Sirin Labs 157 พันล้าน สมาร์ตโฟนบล็อกเชนแบบโอเพ่นซอร์ส 2017 Bancor 153 พันล้าน ตลาดทำนายราคา ตัวอย่างของ ICO ที่ทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) สูง ได้แก่: ICO ของ Nxt เปิดตัวในปี 2013 ที่ราคา 0.0000168 ดอลลาร์ และแตะระดับ 1.94 ดอลลาร์ในปี 2017 โดยมี ROI อยู่ที่ 11,547,519% ผู้ลงทุน IOTA มี ROI อยู่ที่ 522,900% ผู้ลงทุน Neo มี ROI อยู่ที่ 378,453% ในปี 2018 ผู้ลงทุนที่ซื้อ Ethereum ในราคาเริ่มต้นที่ 0.31 ดอลลาร์ และขายโทเค็นของตนที่ราคาสูงสุดที่ 4,362 ดอลลาร์ มี ROI มากกว่า 1,400,000% หลังจาก ICO มูลค่า 5.5 ล้านดอลลาร์ ราคาเริ่มต้นของ DigixDAO อยู่ที่ 3.20 ดอลลาร์ และแตะระดับสูงสุดที่ 510 ดอลลาร์ในปี 2021 ทำให้ผู้ลงทุนได้รับ ROI มากกว่า 12,000% นักลงทุนที่ซื้อ Stratis ในราคา 0.007 ดอลลาร์พบว่ามีผลตอบแทนการลงทุน (ROI) สูงถึง 300,000% ในปี 2018 ราคาของ Cardano เพิ่มขึ้นจาก 0.0024 ดอลลาร์เป็นสูงสุดที่ 2.46 ดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคม 2021 ส่งผลให้มีกำไรมากกว่า 1,020 เท่าหรือ 54,000% อัตราความสำเร็จของ ICO จากการศึกษา ICO ที่แล้วเสร็จไปจำนวน 3,392 โปรเจ็กต์ระหว่างเดือนมกราคม 2016 ถึงเดือนธันวาคม 2018 พบว่าอัตราความสำเร็จของ ICO อยู่ที่เกือบ 90% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2017 อย่างไรก็ตาม อัตราความสำเร็จนั้นลดลงเหลือเพียงต่ำกว่า 50% อย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปี 2018 โดยอัตราความสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 30% ซึ่งผู้เขียนระบุว่าราคาสกุลเงินดิจิทัลที่ร่วงลงอย่างรวดเร็วและภัยคุกคามจากกฎระเบียบเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราความสำเร็จลดลง จาก ICO ที่มีแผนและดำเนินการมากกว่า 4,000 รายการในปี 2018 อัตราการอยู่รอดของสตาร์ทอัป 3 เดือนหลังจากการ ICO อยู่ที่ประมาณ 44.2% เท่านั้น นอกจากนี้: 56% ของสตาร์ทอัปด้านคริปโตที่ระดมทุนผ่าน ICO ล้มเหลวภายในสี่เดือน ICO 83% ที่ไม่ได้รายงานเงินทุนและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดแลกเปลี่ยนไม่มีการเคลื่อนไหวหลังจากเปิดตัว 120 วัน และสำหรับ ICO ที่จดทะเบียนในตลาดแลกเปลี่ยนแล้ว ก็ลดลงเหลือ 52% สำหรับ ICO ที่จดทะเบียนในตลาดแลกเปลี่ยน มีเพียง 16% เท่านั้นที่ไม่มีการเคลื่อนไหวในเดือนที่ 5 หลังจากเปิดระดมทุน ข้อมูลเชิงลึกโดย Enterprise Risk Mag ได้เปิดเผยว่า ICO ในปี 2019 ล้มเหลวถึง 90% นั่นหมายความว่า ICO มีอัตราความสำเร็จประมาณ 10% ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2017 และ 2018 ตัวอย่าง ICO ที่ประสบความสำเร็จ ในปี 2018 โครงการ EOS ได้สร้างมูลค่าการลงทุน ICO ถึง 4.2 พันล้านดอลลาร์ ทำให้เป็นหนึ่งใน ICO ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด EOS มีมูลค่า 14.64 ดอลลาร์เมื่อเปิดตัว และในช่วงพีคมีการซื้อขายที่ 22.89 ดอลลาร์ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2023 โดย EOS มีมูลค่า 0.59 ดอลลาร์ ด้วยมูลค่าตลาด 649 ล้านดอลลาร์ ทำให้ EOS อยู่ในอันดับที่ 58 ของโลก ในเดือนกรกฎาคม 2014 Ethereum ประสบความสำเร็จในการระดมทุน ICO ซึ่งสามารถระดมทุนได้ 18.4 ล้านเหรียญ Ethereum เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โดยมีมูลค่าตลาดมากกว่า 200,000 ล้านเหรียญในเดือนสิงหาคม 2023 จากจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 4,891 ดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ปัจจุบัน Ethereum มีการซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 1,678 เหรียญ Cardano ประสบความสำเร็จในการระดมทุน ICO ซึ่งสามารถระดมได้ 62.2 ล้านเหรียญในเดือนมกราคม 2017 โดยปรับปรุงคุณสมบัติบางประการของ Ethereum Cardano มีมูลค่าตลาดมากกว่า 9,000 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลก โดย Cardano มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.09 เหรียญ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2023 โดย Cardano มีมูลค่า 0.27 เหรียญ ความล้มเหลวของ ICO จากข้อมูลของ Visual Capitalist พบว่ามีเหรียญสกุลเงินดิจิทัลที่เลิกใช้งานระหว่างปี 2013 ถึง 2022 จำนวน 2,383 เหรียญ ความล้มเหลว 10% ของ ICO โดยเหรียญที่ถูกเลิกใช้งานและไม่มีปริมาณการซื้อขายคิดเป็น 1,584 เหรียญหรือ 66.5% ของเหรียญดิจิทัลที่ล้มเหลว ในขณะที่ 22% เป็นเหรียญหลอกลวง นอกจากนี้ เหรียญที่เปิดตัวในปี 2017 นั้นได้เลิกใช้งานแล้วภายในสิ้นปี 2022 มากกว่า 50% จำนวนความล้มเหลวของ ICO สูงที่สุดเกิดขึ้นระหว่างปี 2017 ถึง 2019 หลังจากปี 2019 โดยความล้มเหลวของโทเคนลดลงต่ำกว่า 5%. มีเหรียญที่ล้มเหลว 46 เหรียญในปี 2017 มีเหรียญที่ล้มเหลว 112 เหรียญในปี 2018 มีเหรียญที่ล้มเหลว 51 เหรียญในปี 2019 ตัวอย่าง ICO ที่ล้มเหลว แม้ว่า Tezos จะระดมทุนได้ 232 ล้านเหรียญสหรัฐผ่าน ICO ในเดือนกรกฎาคม 2017 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ หลังจาก ICO มีการล่าช้าในการแจกจ่ายโทเค็นที่ขายออกไปหลายครั้ง ซึ่งนำไปสู่การฟ้องร้องแบบกลุ่ม ส่งผลให้ Tezos สามารถบรรลุข้อตกลงกับทุกฝ่ายได้เป็นมูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 ในปี 2018 Telegram ระดมทุนได้ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐผ่าน ICO เป็นจำนวน 2 ครั้งกับโครงการ Telegram Open Network (TON) ในเดือนมีนาคม 2018 น่าเสียดายที่ SEC ได้หยุดการแจกจ่ายโทเค็นของ Telegram และห้ามเปิดตัวในสหรัฐอเมริกา อีกทั้ง Telegram ยังถูกสั่งให้คืนเงิน 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐให้กับนักลงทุนอีกด้วย ในเดือนมีนาคม 2018 โครงการ Dragon Coins ระดมทุนได้ 320 ล้านเหรียญสหรัฐ ความขัดแย้งหลายกรณีส่งผลให้ราคาโทเค็นร่วงลงอย่างรวดเร็วหลังจากเปิดให้ซื้อขายสาธารณะ Dragon Coin ขึ้นแตะระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 2.40 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2018 และในปี 2021 มูลค่าตลาดของเหรียญลดลงต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์ ราคาต่ำสุดคือเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2022 เมื่อมีการซื้อขายที่ 0.00004 ดอลลาร์ และเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2023 มูลค่าตลาดของเหรียญอยู่ที่ 27,684 ดอลลาร์เท่านั้น อะไรทำให้ ICO ประสบความสำเร็จ? ตามธรรมเนียมของอุตสาหกรรม ICO จะถือว่าประสบความสำเร็จหากระดมทุนได้มากกว่ามูลค่าขั้นต่ำที่กำหนด หาก ICO ไม่ถึงมูลค่าขั้นต่ำที่กำหนด เงินทุนจะถูกส่งคืนให้กับนักลงทุน แต่บางครั้งทีมงานก็อาจตัดสินใจเดินหน้าต่อไป ตาม PwC สิ่งที่ทำให้ ICO ประสบความสำเร็จ ได้แก่: ทีมงานที่มีความสามารถ: ICO ที่ประสบความสำเร็จได้รับการนำโดยทีมงานที่มีคุณสมบัติ ความสามารถ และรอบด้าน การใช้งานที่เป็นไปได้: กรณีการใช้งานสามารถแก้ปัญหาและนำไปใช้งานได้จริง รูปแบบธุรกิจ: ICO ที่ประสบความสำเร็จมีรูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืนและปรับขนาดได้ แนวคิดของสถาบัน: หมายถึงแรงจูงใจที่แข็งแกร่งในการสร้างธุรกิจระดับสถาบันในระยะยาว เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ICO ที่ล้มเหลวและประสบความสำเร็จ: ICO ที่ประสบความสำเร็จมักได้รับคะแนนเชิงบวกมากกว่าจากผู้เชี่ยวชาญออนไลน์ เป้าหมายการระดมทุนขั้นต่ำหรือมูลค่าขั้นต่ำที่กำหนดของ ICO ที่ประสบความสำเร็จโดยเฉลี่ยคือ 5 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่มูลค่าขั้นต่ำที่กำหนดโดยเฉลี่ยหรือเป้าหมายการระดมทุนสูงสุดสำหรับ ICO ที่ประสบความสำเร็จคือ 57 ล้านดอลลาร์ 59% ของ ICO ที่ประสบความสำเร็จนั้นรวมถึงการขายพรีเซลก่อนการขายโทเค็นหลัก โบนัส 20% หรือมากกว่านั้นมักจะพบได้บ่อยใน ICO ที่ล้มเหลว 40% ของการขายโทเค็นที่ประสบความสำเร็จนั้นมีการระบุตัวตนของลูกค้า ราคาคริปโต การศึกษาวิจัยในปี 2022 ได้ทำการวิเคราะห์โครงการ ICO จำนวน 428 โครงการเพื่อพิจารณาปัจจัยความสำเร็จของ ICO และพบว่าราคาของคริปโตอย่าง Bitcoin และ Ethereum มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับความสำเร็จของโครงการ ราคา Bitcoin ที่ต่ำลงมีความเกี่ยวข้องกับโครงการที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น ในขณะที่ Ethereum มีโครงการที่ประสบความสำเร็จมากขึ้นเมื่อราคาสูงขึ้น การศึกษาวิจัยอีกกรณีหนึ่งพบว่า ICO ที่รองรับคริปโตหลายสกุลมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าเช่นกัน การระดมทุน ICO ที่ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายการระดมทุนสูงสุดหรือฮาร์ดแคปได้ 55.4% และมีผู้สนับสนุนโดยเฉลี่ยประมาณ 2,480 ราย อีกทั้งยังระดมทุนได้เฉลี่ย 14.7 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ 54 วัน ในขณะที่ ICO ที่ล้มเหลวใช้เวลาโดยเฉลี่ยมากถึง 68 วัน การปรากฏตัวบนโซเชียลมีเดีย การปรากฏตัวบนโซเชียลเน็ตเวิร์กที่แข็งแกร่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการ การมีบัญชี Twitter ที่ใช้งานระหว่างแคมเปญ ICO เชื่อมโยงกับโครงการที่ประสบความสำเร็จ (32%) เมื่อเทียบกับการไม่มีแคมเปญ Twitter ที่ใช้งาน (15%) การมีผู้ติดตามมากขึ้นนั้นเชื่อมโยงกับโครงการที่ประสบความสำเร็จ (32%) เมื่อเทียบกับการมีเครือข่ายที่เล็กกว่า (16%) การมีบัญชี GitHub ที่ใช้งานอยู่นั้นเชื่อมโยงกับความสำเร็จที่มากขึ้น (28%) มากกว่าการไม่มีบัญชี (19%) โครงการที่ถือว่าประสบความสำเร็จมากขึ้นเมื่อมีเว็บไซต์ที่ใช้งานอยู่ (30%) มากกว่าเมื่อไม่มี (17%) ลักษณะของ Whitepaper การมี whitepaper และความยาวของมันมีผลบวกต่อความสำเร็จของ ICO (29%) โครงการที่เปิดเผยข้อมูลมากขึ้นมักจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น นอกจากนี้ การขายโทเคนที่มีเว็บไซต์หรือ whitepaper หลายภาษามักจะประสบความสำเร็จมากกว่า โดยรวมแล้ว ICO ที่ขาด whitepaper มีอัตราความสำเร็จในการระดมทุนต่ำกว่า รวบรวมทุนได้น้อยกว่า และมีโอกาสน้อยที่จะถูกขึ้นรายการ ตัวแปรของทีม ตัวแปรทีมที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จของโครงการคือจำนวนสมาชิกในทีมและเครือข่าย LinkedIn ทีมที่มีขนาดใหญ่กว่าจะมีโครงการที่ประสบความสำเร็จมากกว่า (29%) เมื่อเทียบกับ 18% สำหรับทีมขนาดเล็ก เช่นเดียวกัน เครือข่าย LinkedIn ที่มีขนาดใหญ่กว่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับเปอร์เซ็นต์ของโครงการที่ประสบความสำเร็จที่สูงกว่า (29%) เมื่อเทียบกับ 19% สำหรับทีมขนาดเล็ก การหลอกลวงและข้อพิพาทใน ICO การฉ้อโกงยังคงเป็นหนึ่งในความท้าทายและภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อตลาด ICO ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับการยอมรับจากผู้กำกับดูแลและตัวแทนตลาดในช่วงบูมของปี 2017-2018 ในปี 2017 เจย์ เคลย์ตัน ประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) แสดงความกังวลเกี่ยวกับระดับของการฉ้อโกงที่เกิดขึ้นในตลาด ICO และเน้นย้ำว่าจำเป็นต้องมีการดำเนินการของหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อปกป้องนักลงทุน เคลย์ตันกล่าวว่า “มีข้อกังวลหลายประการที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับตลาดสกุลเงินดิจิทัลและ ICO รวมถึงตลาดที่เกี่ยวข้อง จึงมีการคุ้มครองนักลงทุนน้อยกว่าตลาดหลักทรัพย์แบบดั้งเดิมอย่างมาก ส่งผลให้มีโอกาสเกิดการฉ้อโกงและการจัดการที่มากขึ้นตามไปด้วย” จากการศึกษา ICO มากกว่า 5,036 แห่งระหว่างเดือนสิงหาคม 2014 ถึงเดือนธันวาคม 2019 พบว่ามีเพียง 20% หรือ 1,014 แห่งเท่านั้นที่มีข้อมูลการระดมทุน จาก ICO ดังกล่าวจำนวน 576 รายการหรือ 57% กลายโครงการหลอกลวงและทำให้สูญเสียเงินไปกว่า 10,120 ล้านดอลลาร์ โดยการฉ้อโกงที่ใหญ่ที่สุดที่บันทึกไว้คือ ‘Petro-scam’ ซึ่งทำให้สูญเสียเงินของนักลงทุนรวม 735 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว การศึกษาฉบับเดียวกันยังระบุว่าการหลอกลวงด้วยการฟิชชิ่งและการฉ้อโกงเป็นกลวิธีที่ใช้บ่อยที่สุดในการหลอกลวงนักลงทุน การหลอกลวงเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับอีเมลขยะ ลิงก์หรือป๊อปอัพที่น่าสงสัย ข้อผิดพลาดในการถอนเงิน และยอดคงเหลือที่หายไปจากกระเป๋า นอกจากนี้ หากโครงการ ICO กลายเป็นการหลอกลวงด้วยการฟิชชิ่งหรือการฉ้อโกง การสูญเสียที่ประมาณการได้จะมีมูลค่าประมาณ 54.1 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปที่ 17.6 ล้านดอลลาร์ถึงสามเท่า การหลอกลวง ICO อื่นๆ ที่พบโดยการศึกษา ได้แก่: ICO ที่ตายแล้ว/ปลอม: ผู้หลอกลวงหลอกนักลงทุนให้ระดมทุนโครงการที่ตายแล้วหรือปลอม การหลอกลวงแบบให้รางวัล: ICO ล้มเหลวในการจ่ายเงินให้กับโปรโมเตอร์ที่ได้รับสัญญาว่าจะได้รับเงินสำหรับ PR และโฆษณา Exit scams: ICO ที่หายไปเฉยๆ ทำให้ผู้ลงทุนต้องรับมือกับการสูญเสียครั้งใหญ่ หลอกลวงด้วย Airdrop: ผู้หลอกลวงใช้คำสัญญาว่าจะได้รับโทเค็นฟรีเพื่อขโมยคีย์ส่วนตัวจากผู้ลงทุน หลอกลวงด้วย Exchange: ผู้หลอกลวงหลอกลวงผู้ลงทุนโดยเปิดตัวการแลกเปลี่ยนที่หลอกลวง การปั่นราคา: เมื่อผู้หลอกลวงสร้างกระแสและขาย ICO ของตน ราคาจะลดลงอย่างรวดเร็วและอย่างมาก การหลอกลวงผ่าน URL: นักลงทุนถูกหลอกให้ลงทุนโดยเว็บไซต์ที่เลียนแบบโครงการที่มีอยู่ หลอกลวงด้วยคลิปโป๊หรือภาพวาบหวิว: ICO แสร้งทำเป็นว่าเสนอการเข้าถึงแบบพรีเมียมไปยังไซต์โป๊ของตน โดยใช้ประโยชน์จากความไม่เต็มใจของเหยื่อที่จะรายงานว่าถูกหลอกลวง การจัดการตลาดหรือการขุดล่วงหน้า: โทเค็นจะถูกแบ่งปันระหว่างนักพัฒนาหรือโปรโมเตอร์หลังจากการขายโทเค็นครั้งสุดท้ายและไม่ถูกเผา ทำให้โทเค็นหมุนเวียนมากขึ้นและราคาโทเค็นลดลง ประเภทของการหลอกลวง ICO จำนวนเงินที่ถูกขโมย Bitconnect 2.6 พันล้านดอลลาร์ Pincoin 660 ล้านดอลลาร์ ACChain 60 ล้านดอลลาร์ Savedroid 50 ล้านดอลลาร์ Plexcoin 15 ล้านดอลลาร์ รายงานของ Satis Research Group ประจำปี 2018 วิเคราะห์ว่ามี ICO มากกว่า 1,500 รายการในปี 2018 และพบว่า 78% ของโครงการเป็นการหลอกลวงซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ แม้ว่าโครงการส่วนใหญ่จะเป็นการหลอกลวง แต่เงินทุน ICO มากกว่า 70% ตกไปอยู่ในโครงการที่มีคุณภาพสูงกว่า นอกจากนี้ 54% ของการระดมทุน ICO ตกไปอยู่ในโครงการที่จัดว่าประสบความสำเร็จในขณะที่เขียนรายงานนี้ ในขณะเดียวกัน ส่วนแบ่งที่สำคัญของเงิน 1.3 พันล้านดอลลาร์ตกไปอยู่ในโครงการสามโครงการที่ต่อมาอยู่ภายใต้การดำเนินการทางกฎหมายอย่างกว้างขวาง ได้แก่: Pincoin: ระดมทุนได้ 660 ล้านดอลลาร์ โดยหายไปพร้อมกับเงินของนักลงทุน และอยู่ระหว่างการสอบสวนโดยทางการเวียดนาม Arisebank: ระดมทุนได้ 600 ล้านดอลลาร์ และถูกระงับการดำเนินการในเดือนมกราคม 2018 โดย SEC Savedroid: ระดมทุนได้ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ และอยู่ระหว่างการสอบสวนเบื้องต้นโดยอัยการในแฟรงก์เฟิร์ตในเดือนเมษายน 2018 Bitconnect ถือเป็นการฉ้อโกง ICO ที่ใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน Bitconnect เป็นสกุลเงินดิจิทัลโอเพนซอร์สที่สัญญาว่านักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนสูงถึง 40% อย่างไรก็ตาม กลายเป็น Ponzi scheme ที่ทำให้ผู้ลงทุนสูญเสียเงินไปกว่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ACChain ซึ่งเป็น ICO ที่ศักยภาพสูงที่สร้างขึ้นในเซินเจิ้น ประเทศจีน ติดอันดับ 3 ของการฉ้อโกง ICO ที่ใหญ่ที่สุด ACChain ระดมทุนได้กว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง ICO อย่างไรก็ตาม เมื่อภาพสำนักงานใหญ่ของโครงการรั่วไหล นักลงทุนก็พบว่าเป็นเพียงห้องว่างๆ เท่านั้น ในเวลาต่อมาบริษัทก็ได้หายตัวไปทำให้ผู้ลงทุนต้องรับมือกับการสูญเสียครั้งใหญ่ การฉ้อโกง ICO ของ Plexcoin ได้สัญญาว่าผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทน 1,354% Plexcoin สามารถระดมทุนได้ 15 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนที่ SEC จะปิดตัวลงและสั่งให้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ลงทุน ในเดือนกรกฎาคม 2017 CoinDash/Blox ถูกแฮ็ก ส่งผลให้สูญเสียเงิน 7 ล้านเหรียญสหรัฐภายในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง แฮกเกอร์เข้ายึด ICO ของ CoinDash เปลี่ยนคำสั่งชำระเงิน และโอนเงินทั้งหมดไปยังบัญชีของตนเอง คำถามที่พบบ่อย ICO ที่ใหญ่ที่สุดคืออะไร? ICO ที่ใหญ่ที่สุดคือ EOS โดยระดมทุนได้กว่า 4.1 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมิถุนายน 2018 อัตราความสำเร็จของ ICO คือเท่าไร? อัตราความสำเร็จของ ICO อยู่ที่ประมาณ 10% ICO คืออะไร? ICO คือรูปแบบหนึ่งของการระดมทุนจากสาธารณชนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและขายโทเค็นดิจิทัลหรือสกุลเงินดิจิทัลใหม่ให้กับนักลงทุน สามารถทำโครงการICO ได้อย่างไร? ในการทำ ICO จะต้องพัฒนาโครงการบล็อกเชน สร้างโทเค็น ร่างรายละเอียดการขายโทเค็น ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ทำการตลาดข้อเสนอของคุณ และแจกจ่ายโทเค็นของคุณให้กับนักลงทุน By Kritsana Thongsuk นักเขียนสายคริปโตที่มีประสบการณ์ในวงการบล็อกเชนและการเงินดิจิทัลมากกว่า 7 ปี เชี่ยวชาญในการนำเสนอข่าวสาร การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และให้ความรู้เกี่ยวกับ Cryptocurrency โดดเด่นในการอธิบายเนื้อหาคริปโตที่ซับซ้อนให้เข้าถึงได้ง่ายสำหรับผู้อ่านทุกระดับ ตั้งแต่นักลงทุนมือใหม่ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญในวงการคริปโต ทำให้เขาเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลคริปโตที่ได้รับความไว้วางใจในประเทศไทย View all of Kritsana Thongsuk's posts